วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ให้นักศึกษาภาคกศ.บป. ส่งชื่อ URL ของนักศึกษา ที่นี่
ให้นักศึกษาภาคกศ.บป. ส่งชื่อ URL ของนักศึกษา ที่นี่
วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ให้นักศึกษาส่ง URL ของ Blog ของนักศึกษา ที่นี่
ส่ง URL ของ Blog ที่นี่ ?
ให้นักศึกษาเขียน ชื่อสกุล(ชื่อเล่น) รหัสนักศึกษา Post ในบทความข้างล่าง
ให้นักศึกษาเขียน ชื่อสกุล(ชื่อเล่น) รหัสนักศึกษา Post ในบทความข้างล่าง
วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
RSS คืออะไร
RSS ย่อมาจากคำว่า Really Simple Syndication หรือ Rich Site Summary เป็นรูปแบบในการนำเสนอข่าวหรือบทความ ให้อยู่ในรูปแบบมาตราฐาน xml เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารใหม่ๆได้ทันที
เมื่อกล่าวถึง RSS แล้ว หลายท่านอาจจะยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ว RSS ได้เข้ามามีบทบาทในอินเทอร์เนตอยู่สักพักใหญ่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจใน RSS จึงอาจจะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านและธุรกิจของท่านในอนาคต ในบทความนี้ท่านผู้อ่านจะได้ทราบถึงความหมายของ RSS ประวัติความเป็นมาโดยย่อ และประโยชน์ที่ได้รับจาก RSS
RSS ย่อมาจาก “Really Simple Syndication” ซึ่งอาจแปลเป็นไทยได้ว่า “การกระจายข่าวสารอย่างง่ายๆ” ซึ่ง RSS มีวิธีการกระจายข่าวสารโดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการจะกระจายข่าวสารทำการสร้าง RSS Feed ซึ่งเป็นไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบของ XML ขึ้นมาไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และนำลิงค์ของไฟล์นั้นแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องการติดตามข่าวสารจากผู้กระจายข่าวสาร ขั้นตอนถัดมาผู้ที่ต้องการจะติดตามข่าวสารจะต้องทำการสมัครหรือลงทะเบียนกับ RSS Feed นั้นๆ โดยใช้ RSS Reader ซึ่ง RSS Reader นี้จะเป็นตัวดึงข่าวสารจากต้นทางหรือผู้กระจายข่าวสารแล้วส่งไปยังปลายทางหรือผู้ติดตามข่าวสารเป็นระยะๆ โดยที่ผู้ติดตามข่าวสารไม่จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ด้วยตนเองเพียงเพื่อต้องการจะทราบว่ามีข้อมูลใหม่ๆหรือข่าวสารใหม่ๆหรือไม่
ความเป็นมาของ RSS เริ่มจากการสร้างศูนย์กลางเว็บไซต์ของหัวข้อข่าวจากหลายๆแหล่งมารวมไว้ด้วยกัน โดยการคิดค้นของอดีตบริษัท Browser อันดับหนึ่งคือ Netscape ซึ่งเวอร์ชันแรกคือ 0.9 ที่ออกโดย Guha ในปี 2542 จากนั้น Libby ก็ได้ออกเวอร์ชัน 0.91 ออกมาในปีเดียวกันก่อนที่บริษัท Netscape จะหยุดการพัฒนา โดยหลังจากที่ Netscape ได้ถอนตัวออกไปก็ได้มีกลุ่ม RSS-DEV Working Group และ Winer จาก Userland เข้ามาสานต่อ ซึ่ง RSS-DEV Working Group ได้ออกเวอร์ชัน 1.0 ออกมาในปี 2543 ประจวบกับ Winer จาก Userland ที่ออกเวอร์ชัน 0.92 ออกมาในเวลาเดียวกัน จนกระทั่งถึงเวอร์ชัน 2.0 ที่ออกโดย Winer ในปี 2545 ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
เวอร์ชัน ออกโดย เดือนปีที่ออก
0.9 Guha / Netscape มี.ค. 2542
0.91 Libby / Netscape ก.ค. 2542
1.0 RSS-DEV Working Group ธ.ค. 2543
0.92 Winer / Userland ธ.ค. 2543
2.0 Winer / Userland ก.ย. 2545
ในปัจจุบัน RSS ซึ่งเป็นรูปแบบย่อยอย่างหนึ่งของ XML นั้น ถูกใช้มากในการส่งเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าว เว็บบอร์ด หรือบล็อก โดยมีโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานคือมีหัวข้อ วันที่ และเวลา พร้อมทั้งเนื้อหาบางส่วน อีกทั้งยังสามารถลิงค์ไปยังรายละเอียดของเนื้อหานั้นๆได้อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาลักษณะนี้อาจจะถูกจำแนกอยู่ในประเภทเนื้อหาที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้นอกจาก RSS จะถูกนำไปใช้ในการเผยแพร่เนื้อหาหรือข่าวสารที่เป็นข้อความอย่างเดียวแล้ว มันยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลประเภทอื่นๆอีกอย่างเช่น Podcast ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลภาพและเสียง เป็นต้น ในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าวนั้น RSS สามารถช่วยให้ผู้กระจายข่าวสามารถแจ้งให้ผู้รับข่าวทราบว่ามีข่าวอะไรใหม่ๆบ้าง ซึ่งการแจ้งให้ทราบเฉพาะข่าวใหม่ๆนี้จะช่วยลดความสับสนให้กับผู้รับข่าวเพราะผู้รับข่าวสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นข่าวสารที่ใหม่กว่าจริงๆ ส่วนในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นเว็บบอร์ดหรือบล็อกนั้น ก็สามารถนำ RSS มาใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกันกับเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าว เพราะเว็บบอร์ดหรือบล็อกนั้นก็อาจแปลงให้อยู่ในรูปของข่าวที่ประกอบไปด้วยหัวข้อ วันที่ และเวลา ได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างของประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ RSS Feed คือ
* ข่าวทุกๆอย่างรวมอยู่ในที่เดียว ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก ต่างจากปกติที่เมื่อต้องการจะรับทราบข่าวใดๆก็ตาม ก็จะต้องไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งถ้าต้องการทราบข่าวหลายๆประเภทก็ต้องเปิดหลายๆเว็บไซต์ ดังนั้นผู้รับข่าวจึงสามารถรับข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลใหม่หรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดตข้อมูลไม่เท่ากัน
* มีแต่ข่าวที่ต้องการรับทราบเท่านั้น เพราะผู้รับข่าวเป็นคนตัดสินใจว่าต้องการที่จะลงทะเบียนรับทราบข่าวนั้นๆหรือเปล่า และเมื่อถึงเวลาที่มีข่าวใหม่ๆมา เขาก็สามารถดูที่หัวข้อข่าวที่สนใจจริงๆ แล้วจึงคลิกที่ลิงค์เพื่อไปดูเนื้อหาเต็มอีกที
* ผู้รับข่าวไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอีเมลแอดเดรสของตนเมื่อเขาลงทะเบียนรับข่าวสารกับ Feed ดังนั้นเขาจึงไม่เสี่ยงกับการที่จะได้รับสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจจะมากับอีเมล เช่น spam หรือไวรัส เป็นต้น
* เผยแพร่ได้ง่าย ผู้ที่ต้องการรับทราบข่าวสารเพียงแค่ลงทะเบียนรับทราบข่าวสารกับ Feed ที่ผู้เผยแพร่ได้จัดไว้ให้ ผู้เผยแพร่จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลงทะเบียนลงไปไว้ในฐานข้อมูล
ที่มาของข้อมูล : http://www.rss.in.th/2007/07/22/what-is-rss/#more-3
เมื่อกล่าวถึง RSS แล้ว หลายท่านอาจจะยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ว RSS ได้เข้ามามีบทบาทในอินเทอร์เนตอยู่สักพักใหญ่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจใน RSS จึงอาจจะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านและธุรกิจของท่านในอนาคต ในบทความนี้ท่านผู้อ่านจะได้ทราบถึงความหมายของ RSS ประวัติความเป็นมาโดยย่อ และประโยชน์ที่ได้รับจาก RSS
RSS ย่อมาจาก “Really Simple Syndication” ซึ่งอาจแปลเป็นไทยได้ว่า “การกระจายข่าวสารอย่างง่ายๆ” ซึ่ง RSS มีวิธีการกระจายข่าวสารโดยกำหนดให้ผู้ที่ต้องการจะกระจายข่าวสารทำการสร้าง RSS Feed ซึ่งเป็นไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบของ XML ขึ้นมาไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และนำลิงค์ของไฟล์นั้นแจกจ่ายให้กับผู้ที่ต้องการติดตามข่าวสารจากผู้กระจายข่าวสาร ขั้นตอนถัดมาผู้ที่ต้องการจะติดตามข่าวสารจะต้องทำการสมัครหรือลงทะเบียนกับ RSS Feed นั้นๆ โดยใช้ RSS Reader ซึ่ง RSS Reader นี้จะเป็นตัวดึงข่าวสารจากต้นทางหรือผู้กระจายข่าวสารแล้วส่งไปยังปลายทางหรือผู้ติดตามข่าวสารเป็นระยะๆ โดยที่ผู้ติดตามข่าวสารไม่จำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบจากหน้าเว็บไซต์ด้วยตนเองเพียงเพื่อต้องการจะทราบว่ามีข้อมูลใหม่ๆหรือข่าวสารใหม่ๆหรือไม่
ความเป็นมาของ RSS เริ่มจากการสร้างศูนย์กลางเว็บไซต์ของหัวข้อข่าวจากหลายๆแหล่งมารวมไว้ด้วยกัน โดยการคิดค้นของอดีตบริษัท Browser อันดับหนึ่งคือ Netscape ซึ่งเวอร์ชันแรกคือ 0.9 ที่ออกโดย Guha ในปี 2542 จากนั้น Libby ก็ได้ออกเวอร์ชัน 0.91 ออกมาในปีเดียวกันก่อนที่บริษัท Netscape จะหยุดการพัฒนา โดยหลังจากที่ Netscape ได้ถอนตัวออกไปก็ได้มีกลุ่ม RSS-DEV Working Group และ Winer จาก Userland เข้ามาสานต่อ ซึ่ง RSS-DEV Working Group ได้ออกเวอร์ชัน 1.0 ออกมาในปี 2543 ประจวบกับ Winer จาก Userland ที่ออกเวอร์ชัน 0.92 ออกมาในเวลาเดียวกัน จนกระทั่งถึงเวอร์ชัน 2.0 ที่ออกโดย Winer ในปี 2545 ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน
เวอร์ชัน ออกโดย เดือนปีที่ออก
0.9 Guha / Netscape มี.ค. 2542
0.91 Libby / Netscape ก.ค. 2542
1.0 RSS-DEV Working Group ธ.ค. 2543
0.92 Winer / Userland ธ.ค. 2543
2.0 Winer / Userland ก.ย. 2545
ในปัจจุบัน RSS ซึ่งเป็นรูปแบบย่อยอย่างหนึ่งของ XML นั้น ถูกใช้มากในการส่งเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าว เว็บบอร์ด หรือบล็อก โดยมีโครงสร้างที่เป็นมาตรฐานคือมีหัวข้อ วันที่ และเวลา พร้อมทั้งเนื้อหาบางส่วน อีกทั้งยังสามารถลิงค์ไปยังรายละเอียดของเนื้อหานั้นๆได้อีกด้วย ซึ่งเนื้อหาลักษณะนี้อาจจะถูกจำแนกอยู่ในประเภทเนื้อหาที่เป็นข้อความเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้นอกจาก RSS จะถูกนำไปใช้ในการเผยแพร่เนื้อหาหรือข่าวสารที่เป็นข้อความอย่างเดียวแล้ว มันยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลประเภทอื่นๆอีกอย่างเช่น Podcast ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลภาพและเสียง เป็นต้น ในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าวนั้น RSS สามารถช่วยให้ผู้กระจายข่าวสามารถแจ้งให้ผู้รับข่าวทราบว่ามีข่าวอะไรใหม่ๆบ้าง ซึ่งการแจ้งให้ทราบเฉพาะข่าวใหม่ๆนี้จะช่วยลดความสับสนให้กับผู้รับข่าวเพราะผู้รับข่าวสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นข่าวสารที่ใหม่กว่าจริงๆ ส่วนในเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นเว็บบอร์ดหรือบล็อกนั้น ก็สามารถนำ RSS มาใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกันกับเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นข่าว เพราะเว็บบอร์ดหรือบล็อกนั้นก็อาจแปลงให้อยู่ในรูปของข่าวที่ประกอบไปด้วยหัวข้อ วันที่ และเวลา ได้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างของประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ RSS Feed คือ
* ข่าวทุกๆอย่างรวมอยู่ในที่เดียว ทำให้ประหยัดเวลาได้มาก ต่างจากปกติที่เมื่อต้องการจะรับทราบข่าวใดๆก็ตาม ก็จะต้องไปเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งถ้าต้องการทราบข่าวหลายๆประเภทก็ต้องเปิดหลายๆเว็บไซต์ ดังนั้นผู้รับข่าวจึงสามารถรับข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปค้นหาจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลใหม่หรือไม่ ซึ่งเว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดตข้อมูลไม่เท่ากัน
* มีแต่ข่าวที่ต้องการรับทราบเท่านั้น เพราะผู้รับข่าวเป็นคนตัดสินใจว่าต้องการที่จะลงทะเบียนรับทราบข่าวนั้นๆหรือเปล่า และเมื่อถึงเวลาที่มีข่าวใหม่ๆมา เขาก็สามารถดูที่หัวข้อข่าวที่สนใจจริงๆ แล้วจึงคลิกที่ลิงค์เพื่อไปดูเนื้อหาเต็มอีกที
* ผู้รับข่าวไม่จำเป็นต้องเปิดเผยอีเมลแอดเดรสของตนเมื่อเขาลงทะเบียนรับข่าวสารกับ Feed ดังนั้นเขาจึงไม่เสี่ยงกับการที่จะได้รับสิ่งไม่พึงประสงค์ที่อาจจะมากับอีเมล เช่น spam หรือไวรัส เป็นต้น
* เผยแพร่ได้ง่าย ผู้ที่ต้องการรับทราบข่าวสารเพียงแค่ลงทะเบียนรับทราบข่าวสารกับ Feed ที่ผู้เผยแพร่ได้จัดไว้ให้ ผู้เผยแพร่จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ลงทะเบียนลงไปไว้ในฐานข้อมูล
ที่มาของข้อมูล : http://www.rss.in.th/2007/07/22/what-is-rss/#more-3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)